Kong API Gateway การใช้งาน (ตอนที่ 2)
Intro
สวัสดีครับ พบกับตอนที่ 2 จากคราวก่อนตอนที่ 1 จะเป็นการแนะนำและการติดตั้งโดยบทความนี้จะพามาลองใช้งาน Kong API Gateway โดยจะอธิบายเพื่อให้เห็นภาพและประโยชน์ในแง่การใช้งาน ซึ่งบทความมี 2 ตอนดังนี้
สวัสดีครับ พบกับตอนที่ 2 จากคราวก่อนตอนที่ 1 จะเป็นการแนะนำและการติดตั้งโดยบทความนี้จะพามาลองใช้งาน Kong API Gateway โดยจะอธิบายเพื่อให้เห็นภาพและประโยชน์ในแง่การใช้งาน ซึ่งบทความมี 2 ตอนดังนี้
สวัสดีครับ บทความนี้พามารู้จักกับ Kong API Gateway โดยจะเน้นพาทำแต่จะไม่บรรยายอะไรมาก ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ตอนดังนี้
ปัจจุปันการพัฒนา API หรือ Microservice เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล กรณีมีแอปพลิเคชันในหลายรูปแบบเช่น Web app หรือ Mobile app และ IoT โดยใช้ Restful API เป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างแต่ละอุปกรณ์ซึ่งอนุญาตให้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง Server กับ Client โดย Server รับ Requests จาก Client และส่ง Response ข้อมูลกลับ
คำว่า API นั้นย่อมาจาก Application Programming Interface ซึ่ง API จะเป็นตัวกลางที่อนุญาตให้แอปพลิเคชันแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่าน Endpoint โดย Client จะใช้ API ส่งคำร้องขอ (Request) และตอบกลับข้อมูล (Response) (คล้าย ๆ การสื่อสารระหว่าง 2 อุปกรณ์โดยมี API เป็นตัวกลาง)