Skip to main content

รีวิว-ติดตั้ง Tuya CBU WiFi module (หลักร้อย) สำหรับสั่งเปิดรั้วหน้าบ้านผ่าน App และเทคนิคการเชื่อมต่อกับ Google Home Assistant สำหรับการสั่งงานด้วยเสียง

Kongvut Sangkla

Intro

สวัสดีครับ บทความนี้สำหรับผู้ที่ใช้ประตูรั้วบ้านแบบอัตโนมัติของ BSM (บอร์ดควบคุมรุ่น T329) โดยเป็นการเพิ่มติดตั้ง Tuya CBU WiFi module เพื่อเลือกเปลี่ยนจากการใช้ Remote เป็นการสั่งงานผ่าน App มือถือ และการกำหนดการสั่งงานด้วยเสียงร่วมกับ Google Home Assistant

ประตูรั้วบ้านแบบอัตโนมัติของ BSM

ปกติอุปกรณ์เปิดรั้วบ้านของ BSM จะมีชุดควบคุมหลักคือ

  • มอเตอร์
  • บอร์ดควบคุม
  • รีโมทสั่งการ

Remote ของ BSM (ข้อดี - ข้อเสีย)

ข้อดี

  • สั่งเปิดง่ายแค่กดปุ่ม!
  • ให้อารมณ์การใช้งานแบบสัมผัส กดแล้วใช้ทันที (สำหรับผู้ที่ไม่ชอบใช้ App)

ข้อเสีย

  • Remote ที่แถมมามี 3 ตัว นั่นหมายความว่า ครอบครัวที่มีสมาชิกในบ้านมากกว่า 3 อาจจะไม่สะดวก (เช่นเอา Remote ติดไว้ในรถอาจจะไม่พอใช้) อาจจะต้องซื้อ Remote เพิ่ม
  • Remote ใช้พลังงานจากถ่าน ข้อนี้สำคัญนั่นแปลว่าถ้าถ่านหมดก็ไม่สามารถใช้งานได้
  • Remote มีระยะส่งสัญญาณสำหรับสั่งการจำกัด (ไม่เกิน 20 เมตร) ไม่สามารถใช้เมื่ออยู่นอกบ้าน หรือระยะไกล ๆ
  • ข้อสุดท้ายก็ไม่ใช่ข้อเสียของ Remote แต่คือ อย่าทำ Remote หาย! เพราะจะทำให้ใช้งานไม่ได้ 😄

เพิ่มอุปกรณ์ใหม่ - Tuya CBU WiFi module (ข้อดี - ข้อเสีย)

Tuya CBU WiFi module ใช้ได้กับบอร์ดควบคุมรุ่น T329, K329E ราคา 399 บาท สั่งซื้อได้ที่ https://shope.ee/5V9PQSDCX2 (Affiliate Link)

ข้อดี

  • สั่งงานผ่าน App มือถือช่วยแก้ปัญหาของ Remote (ถ่านหมด)
  • สามารถแชร์การสั่งการ App ให้คนในครอบครัวผ่าน App ได้ (หมดปัญหา Remote ไม่พอใช้)
  • สามารถสั่งงานระยะไกล เช่น อยู่นอกบ้านได้
  • ไม่ต้องพกอุปรกรณ์หลายอัน เพราะใช้แค่มือถือสั่งงานก็เพียงพอ
  • ภายใน App สามารถสร้าง Logic อัตโนมัติ เช่น เปิดประตูรั้ว 15% จากนั้นอีก 10 นาทีปิดเองอัตโนมัติ

ข้อเสีย

  • ความสะดวกการใช้งานต้องเปิดมือถือสั่งการ (บางท่านอาจจะไม่ชอบ)
  • อย่าทำมือถือหาย! 😄

Use case ที่น่าสนใจเมื่อสั่งงานด้วย Tuya CBU WiFi module

  1. กรณีมีคนมาส่งของขนาดใหญ่ แต่เราไม่ได้อยู่บ้าน เราสามารถสั่งเปิด-ปิดประตูบ้านจากนอกบ้าน (ใช้ควบคู่กับการดูกล้องวงจรปิดได้)
  2. กรณีอีก 5 นาทีจะขับรถถึงบ้าน สามารถสั่งเปิดประตูรั้วบ้านรอได้เลย
  3. เชื่อมต่อกับ Google Home Assistant สำหรับการสั่งงานด้วยเสียง (ข้อนี้เป็นเทคนิค) ที่ต้องดัดแปลงนิดหน่อย เป็นเทคนิคการประยุกต์ใช้งานโดยจะพูดถึงในหัวข้อต่อไป

การติดตั้ง

การติดตั้งกับบอร์ดควบคุมรุ่น T329 ของ BSM นั่นง่ายมาก ๆ เนื่องจากตัวบอร์ดได้ออกแบบขาไว้สำหรับเสียบ Module เพิ่มเติม ดังนั้นเราแค่เอา Tuya CBU WiFi module เอาเสียบลงที่บอร์ดควบคุมก็ใช้งานได้แล้ว

ขั้นตอน

  1. ถอดปลั๊ก/ปิดไฟฟ้า ของ BSM ออกก่อน
  2. หมุนน็อตเปิดฝาครอบของ BSM และแผ่นพลาสติกป้องกันบอร์ดออก
  3. ติดตั้ง Tuya CBU WiFi module โดยเสียบลงที่บอร์ดเป็นอันเสร็จเรียบร้อย

การใช้งานและการตั้งค่า

เมื่อติดตั้ง Tuya CBU WiFi module กับบอร์ดควบคุมเรียบร้อยต่อไปจะเป็นการเพิ่มอุปกรณ์ใหม่กับ App มือถือ

ขั้นตอนการเชื่อมต่อ

  1. ติดตั้ง App Smart Life บนมือถือ
  2. ไปที่เมนู + เพื่อเพิ่มอุปกรณ์ใหม่
  3. มือถือจะค้นหาอุปกรณ์ใหม่อัตโนมัติ จากนั้นกด Add
  4. เลือกการเชื่อมต่อ WiFi ให้กับ Tuya CBU WiFi module (ต้องเป็น WiFi 2.4Ghz เท่านั้น)
  5. กด Connect จากนั้นรอสักครู่เพื่อเชื่อมต่อ
  6. เมื่อเชื่อมต่อแล้ว สามารถกำหนดชื่อของอุปกรณ์ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
Figure
Figure

การใช้งาน App

การใช้งานนั่นง่ายมากเพราะมีเมนูไม่มากสามารถใช้งานได้ดังนี้

ข้อสังเกต
  • Status คือสถานะของอุปกรณ์ เช่น Close คือปิดประตู และ Open คือเปิดประตู
  • RSSI คือระดับสัญญาณการเชื่อมต่อกับ WiFi (เป็นค่าติดลบ ตัวเลขน้อยยิ่งดี)
Figure

สำหรับการใช้งาน

  • เมื่อกดเข้า Smart Life บนมือถือเลือกอุปกรณ์ที่จะควบคุม
  • ในหน้าสั่งงานของ Tuya CBU WiFi module จะมีเมนูให้สั่งการ 4 ปุ่ม
    • Lock คือล็อคประตู
    • Stop คือหยุดระหว่างกำลังทำงาน (เปิดหรือปิด)
    • Open คือเปิดประตู
    • Close คือปิดประตู

เทคนิคการใช้งาน

1. Tap-to-Run Automation

Tap-to-Run Automation เป็นการกำหนดชุดคำสั่ง เวลาใช้งานจะสั่งกด 1 ครั้งจากนั้น ชุดคำสั่งก็จะทำทำงานอัตโนมัติให้จากเงื่อนไขที่กําหนดไว้ เช่น

  • เปิดประตู
  • ปิดประตู
  • เปิดประตูรั้ว 15%
  • เปิดประตูรั้ว 15% จากนั้นอีก 1 ชม. ปิด
Figure
Figure
Figure
Figure
Figure

2. การเชื่อมต่อกับ Google Home Assistant สำหรับการสั่งงานด้วยเสียง

โดยปกติ Tuya CBU WiFi module ไม่ได้รองรับการสั่งงานด้วยเสียง

แต่ในบางครั้ง เช่น กรณีอีก 5 นาทีจะขับรถถึงบ้าน อยากสั่งเปิดประตูรั้วบ้านรอ หรือกำลังจะออกนอกบ้านก็สั่งเปิดประตูรอ (ด้วยเสียง) สามารถประยุกต์สั่งงานผ่าน Google Home Assistant ได้ดังนี้

เงื่อนไข

  • ก่อนอื่นคุณต้องมีอุปกรณ์อะไรบางอย่างของ Tuya ที่สามารถเปิด-ปิดได้ (กรณีนี้ผมใช้ Tuya Smart Plug ที่มีอยู่แล้ว)
  • เชื่อมต่อ Tuya Smart Plug กับ App Smart Life ให้เรียบร้อย
  • จากนั้น (ตรงนี้สำคัญ) ให้ตั้งชื่ออุปกรณ์ว่า ประตูรั้วหน้าบ้าน

2.1 กำหนดค่า Scene Automation ใน Smart Life

ให้ทำสร้าง Scene Automation ทั้งหมด 2 Scenes ดังนี้

ขั้นตอน

  • Scene 1. คือ เปิดสวิตซ์ให้เปิดประตูหน้าบ้าน
  • Scene 2. คือ ปิดสวิตซ์ให้ปิดประตูหน้าบ้าน

หลักการคือสั่งเปิด-ปิด Smart Plug แล้วให้ไป Trigger เพื่อสั่งงาน Tuya CBU WiFi module

Figure
Figure
Figure

2.2 เชื่อมต่อ Tuya กับ Google Home Assistant

ขั้นตอน

  • ไปที่ Google Home
  • จากนั้นเลือก Devices Tab แล้วกดบวก + (Add device)
  • ในหน้า Choose a device ให้เลือกเมนู Works with Google Home
  • จากนั้นในหน้า Linked services ให้เลือกเชื่อมต่อกับ Smart Life
  • เมื่อเชื่อมต่อกับ Smart Life สำเร็จแล้วจะพบชื่อ Device ของ Tuya เป็นอันเรียบร้อย
Figure
Figure
Figure
Figure

2.3 ทดสอบสั่งงานด้วยเสียงกับ Google Assistant

ขั้นตอน

  • พูดว่า Hey Google
  • จากนั้นสั่งอุปกรณ์ เปิดประตูรั้วหน้าบ้าน หรือ ปิดประตูรั้วหน้าบ้าน
  • สำเร็จ แล้วจะพบว่าอุปกรณ์จะสามารถสั่งงานด้วยเสียง 😄 🎉
Figure
Figure

สรุป

สำหรับการติดตั้งและใช้งาน Tuya CBU WiFi module เพื่อสั่งงานผ่าน App นั้นง่ายมาก แต่สิ่งที่เพิ่มเติมในบทความนี้คือ การเชื่อมต่อ Tuya กับ Google Home Assistant เพื่อการสั่งงานด้วยเสียง เช่น Use case ที่ส่วนตัวใช้งานบ่อยคือ

  • การสั่งงานด้วยเสียงเวลาจะออกนอกบ้าน โดยไม่ได้แตะมือถือเลย
  • การสั่งงานด้วยเสียงให้เปิดประตูรอ กรณีใกล้จะถึงที่บ้านแล้ว

แถมสำหรับใครที่ใช้รถ Tesla

มีสิ่งที่น่าสนใจ และน่าทำคือสำหรับใครที่ใช้รถของ Tesla สามารถใช้งานร่วมกับ TeslaMate โดยเราสามารถดูข้อมูลของรถ เช่น พิกัดของรถ แต่สิ่งที่เราต้องทำเพิ่มคือ

  1. (ไม่ต้องทำก็ได้) เมื่อ Mac Address ของรถหลุดการเชื่อมต่อ WiFi ที่บ้าน (นั่นหมายความว่ารถออกนอกบ้านแล้ว) ให้ส่งคำสั่งยืนยันว่าออกนอกบ้าน (เช่น ผ่าน Line) เพื่อเริ่มเชื่อมต่อกับ Home Assistant
  2. เขียนคำสั่งเพื่อขอดูพิกัดรถจาก TeslaMate (เช่นทุก 1 นาที)
  3. คำนวณระยะห่าง Lat/Long ระหว่างรถ กับ ตำแหน่งบ้าน
  4. เมื่ออยู่ในระยะทางที่น้อยกว่าที่กำหนด เช่น 500 เมตร (รถถึงหน้าหมู่บ้านแล้ว)
  5. ให้สั่งเปิดประตูรออัตโนมัติ (ต้องเขียนคำสั่งเชื่อมต่อกับ Home Assistant API เอง)
  6. เปิดประตูรอ (แค่ขับรถใกล้ถึงบ้าน โดยไม่ต้องสั่งงานด้วยเสียง)

ใครมี Tesla ลองทำดูนะครับ จบแล้วสำหรับการรีวิว ขอบคุณที่อ่านจนจบครับ 😊

Loading...