Skip to main content

รีวิว ROCK (Pi) 4A 4GB บอร์ด SBC รองรับ M.2 NVMe ทางเลือกทดแทน Raspberry Pi

· 7 min read

Intro

สวัสดีครับ บทความนี้จะรีวิว ROCK (Pi) 4A 4GB ที่รองรับ M.2 บอร์ดทางเลือกทดแทน Raspberry Pi แต่เป็นรีวิวที่ไม่ได้เปรียบทับกับ Raspberry Pi ตรง ๆ ทุกอย่างนะครับ แต่อยากเขียนไว้เป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่กำลังหาข้อมูล Development board สักตัว

ที่จริงอยากได้ Single Board Computer (SBC) สักอันมาใช้งานมาสักพักแล้วครับ และช่วงนี้ดูเหมือนว่า Raspberry Pi สินค้าขาดตลาดรึเปล่าเพราะราคาสูงมาก Raspberry Pi 4 รุ่น 4GB ราคาเกือบ 5,000 บาทเลย และราคานี้ก็ยังไม่รวมอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ

ผมหาข้อมูลจนได้ไปพบกับเจ้า ROCK Pi 4 ราคาก็ค่อนข้างถูกกว่ามาก และประสิทธิภาพของบอร์ดนั้นก็ถือว่าดีมากจึงซื้อมาใช้เลยทันที ดังนั้นบทความนี้จึงตั้งใจรีวิวเพื่อเล่า ข้อดี-ข้อเสีย ของบอร์ด ROCK Pi 4 และก่อนที่จะสั่งซื้อมาใช้งานก็พบว่ารีวิว ROCK Pi 4 จากคนไทยยังไม่มี (พบว่าส่วนใหญ่มีแต่ของ Raspberry Pi)

info

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเปรียบเทียบระหว่าง ROCK Pi Vs. Raspberry Pi แบบละเอียดสามารถอ่านได้จากบทความของคนนี้ Why I sold my Raspberry Pi 4 for a Rock Pi 4

โดยเขาเขียนบทความและให้เหตุผลประมาณว่า ทำไมต้องขาย Raspberry Pi เพื่อไปซื้อ ROCK Pi แทน 😅

ROCK Pi คืออะไร

ROCK Pi 4 คือ Single Board Computer (SBC) (หลักการออกแบบเหมือน ๆ กับ Raspberry Pi) ขนาดเล็กพอ ๆ กับขนาดของบัตรเครดิต (ที่เรียกว่า Ultra-small form factor) สามารถใช้เป็น Computer ขนาดเล็กได้ เพราะมีช่องต่อออกจอภาพและ USB สำหรับเม้าส์และคีย์บอร์ด หรือสำหรับงาน IoT หรืองาน DIY ต่าง ๆ

ROCK Pi 4 มีกี่รุ่น

ปัจจุบัน ROCK Pi 4 นั้นมีทั้งหมด 7 รุ่น (ที่ยังขายและมีการ Supported อยู่) ดังนี้:

  • ROCK (Pi) 4A และ 4B(2018)
  • ROCK (Pi) 4C(2020)
  • ROCK (Pi) 4A Plus และ 4B Plus(2021)
  • ROCK (Pi) 4C Plus(2022)
  • ROCK 4 SE(2022)

ตัวที่นำมารีวิวคือรุ่น ROCK (Pi) 4A เพราะราคาถูกสุด

โครงการ ROCK Pi นั้นเริ่มต้นเมื่อปี 2018 และใช้ชื่อ ROCK Pi 4 แต่ในปี 2022 ทีมพัฒนาได้ตัดสินใจลบคำว่า Pi ออกจากชื่อ เพราะบางคนเข้าใจว่า ROCK Pi คือชื่อแบรนด์ แต่ที่จริงคือ Radxa ต่างหากคือชื่อแบรนด์จริง ๆ ส่วน ROCK Pi คือชื่อของไลน์โปรดัก

ดังนั้นชื่อเต็ม ๆ ของ 4C Plus คือ Radxa ROCK 4 Model C Plus (จำไว้ว่า ROCK คือตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด) แต่ข้อมูลส่วนใหญ่ตาม Reviews ต่าง ๆ ก็อาจจะเป็นชื่อเดิม แต่โปรเข้าใจว่า ROCK Pi 4 และ ROCK 4 เป็นสินค้าอันเดียวกันส่วนรุ่นของ Model เป็นชื่อที่ใช้แยกในการตัดสินใจซื้อและการเลือกใช้ Images OS

Specification

Hardware Specs ของ ROCK (Pi) 4A 4GB

  • CPU: Rockchip RK3399 (ARMv8) 6 Cores 64-bit
    • Dual Cortex-A72 1.8Ghz
    • Quad Cortex-A53 1.4Ghz
  • GPU: Mali T860MP4 gpu, supports OpenGL ES 1.1 /2.0 /3.0 /3.1 /3.2, Vulkan 1.0, Open CL 1.1 1.2, DX11.
  • RAM: 4GB 64-bit dual channel LPDDR4@3200Mb/s
  • SPI Flash: 4MB SPI flash soldered
    • NVMe booting from SPI supported
  • Storage (optional)
    • eMMC module 16G/32G/64G/128G Support (optional)
    • microSD Card (μSD slot supports up to 256 GB microSD Card)
    • M.2 NVME SSD Support (optional)
  • Display: Standard HDMI 2.0 up to 4k@60
  • Audio: 3.5mm jack with mic
  • Camera: MIPI CSI 2 lanes via FPC connector
  • Wireless: none
  • USB:
    • USB 3.0 OTG X1
    • USB 3.0 HOST X1
    • USB 2.0 HOST X2
  • Ethernet: GbE LAN
  • I/O:
    • 40-pin expansion header
    • 2 x UART
    • 2 x SPI bus
    • 3 x I2C bus
    • 1 x PCM/I2S
    • 1 x SPDIF
    • 2 x PWM
    • 1 x ADC
    • 6 x GPIO
    • 2 x 5V DC power in
    • 2 x 3.3V DC power in
  • Power:
    • USB PD, support USB Type-C PD 2.0, 9V/2A, 12V/2A, 15V/2A, 20V/2A
    • Qualcomm® Quick ChargeTM: Supports QC 3.0/2.0 adapter, 9V/2A, 12V/1.5A
  • Others:
    • RTC battery connector for time backup(optional)
  • Size: 85mm x 54mm

(Model B เพิ่มในส่วนของ Wi-Fi, Bluetooth, Gigabit ethernet + PoE)

(Model A จะไม่มี Wi-Fi และ Bluetooth)

Specification ของทุกรุ่น Models

ตารางเปรียบเทียบสำหรับสเปคทุกรุ่น Models

Imgur

Specification ROCK Pi 4 Vs. Raspberry Pi 4

ข้อมูลเปรียบเทียบสเปคระหว่าง ROCK Pi 4 กับ Raspberry Pi 4

รายละเอียดทั้งหมด

จุดเด่นของ ROCK Pi

สำหรับจุดเด่นของ ROCK Pi 4 ที่ชัดเจนจะมี 2 อย่างคือมี CPU ARMv8 แบบ 6 Cores ที่เร็วกว่า และมีตัวเลือก Storage ที่รองรับได้ 4 แบบคือ M.2, eMMC, microSD Card, USB 3.0 โดยเฉพาะ M.2 และ eMMC นั้นมีข้อดีคือมีความเร็วในการอ่านเขียนที่เหนือกว่า microSD Card สำหรับความเร็ว I/O Speed

Raspberry Pi นั้นจะมี Official OS อันเดียวสำหรับทุกรุ่น Models คือ Raspberry Pi OS

ส่วน ROCK Pi 4 ปัจจุบันมี Official OS 4 รุ่นคือ:

  • Android TV
  • Android 11 Tablet version
  • Ubuntu Server 20.04
  • Debian Desktop

และที่จริงทั้ง ROCK Pi และ Raspberry Pi ก็มี Third-party and community built OS images เพื่อเป็นทางเลือกในการติดตั้งอีกมากโดยของ ROCK Pi Third Party Images ดังนี้

  • Armbian for Rock Pi 4A/B
  • Manjaro Minimal
  • Recalbox
  • LibreELEC
  • DietPi
  • Slarm64
  • FreeBSD
  • OPNsense
  • CRUX-ARM
  • emteria.OS
  • OpenWrt
  • Twister OS

อุปกรณ์เสริม

https://wiki.radxa.com/Rockpi4/hardware

Official Heatsink

Official Heatsink คือ ฮีทซิงค์ สำหรับช่วยระบายความร้อน ซึ่งที่จริงไม่ต้องติดตั้งเพิ่มก็ได้ แต่แนะนำให้ใส่เพิ่ม เพราะว่า CPU เมื่อทำงานหนักจะมีอุณหภูมิสูงพอสมควร และถ้าสูงเกินไป CPU ก็จะทำงานช้าลง ดังนั้นจึงแนะนำให้ติดตั้งเพิ่มเพื่อลดอุณหภูมิได้ค่อนข้างเยอะเลย

M.2 extend board

M.2 extend board คือบอร์ดสำหรับต่อ M.2 ที่มีสายสำหรับต่อจากบอร์ดหลักแล้ว extend มาที่บอร์ดเสริม สำหรับหากต้องการความเร็วสูงในการ Read/Write แต่ถ้าใครที่ใช้ eMMC หรือ microSD Card ไม่จำเป็นต้องใช้บอร์ด extend นี้

eMMC module

eMMC คือหน่วยความจำประเภทที่จัดเก็บข้อมูลแฟลช แต่มีความเร็วกว่า microSD Card แต่ช้ากว่า M.2 มีหลายขนาดให้เลือกใช้ เช่น 32GB, 64GB, 128GB (สามารถใช้แทน microSD Card ได้) แต่ถ้าใช้อยู่แล้ว M.2 สำหรับ eMMC ก็ไม่จำเป็น

ประสิทธิภาพและรีวิวจากที่อื่น ๆ

เนื่องจากผมไม่ได้ทดสอบประสิทธิภาพเครื่องเองตรง ๆ แต่จะใช้ข้อมูลอ้างอิงการทดสอบจากเว็บหลักและ Reviews ใน Youtube ดังนี้

CPU Performance

CPU ของ ROCK Pi 4A ทำงานบนพื้นฐานของ ARM-based SoC Rockchip RK3399 (ARMv8) 6 Cores 64-bit

GPU Performance

ROCK Pi 4A มี GPU คือ Mali™-T860MP4 GPU ซึ่งมี 4 cores บนความเร็ว 600MHz clock speed ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ SBC GPUs อื่น ๆ พบว่า ROCK Pi 4 มีการประมวลผลของ GPU ที่มีประสิทธิภาพดีกว่า

IO Performance

ROCK Pi 4A รองรับ Storage ที่หลากหลายโดยเฉพาะ M.2 NVMe ที่ทำให้ความเร็วในการอ่านและเขียนที่เหนือกว่าบอร์ดตัวอื่น ๆ

เปรียบเทียบประสิทธิภาพจากช่อง Youtube อื่น ๆ

การประกอบ

การประกอบ

ปกติแล้วถ้าใช้งานปกติก็ไม่ต้องประกอบอะไร แต่ถ้ามี Official Heatsink และ M.2 extend board การประกอบนั้นไม่ได้ยากมาก โดยจะมีวิธีการประกอบขั้นตอนตามลิงก์นี้ https://wiki.radxa.com/Rockpi4/hardware/M2_extend

วิดีโอการประกอบ

การติดตั้ง OS

  1. เลือกดาวน์โหลด Image OS ตามที่ต้องการที่ https://wiki.radxa.com/Rockpi4/downloads
  2. ติดตั้ง OS นั้นสามารถทำได้หลายวิธีและสามารถเลือกติดตั้งได้ตามที่ Storage ที่เราใช้งาน

การติดตั้ง OS นั้นจะคล้าย ๆ กับของ Raspberry Pi คือการใช้ Tools เช่น Etcher เขียน Image OS ที่ดาวน์โหลดมา สามารถกดเข้าไปอ่านรายละเอียดการติดตั้งในแต่ละประเภทจากลิงก์ด้านบน

ส่วนวิธีการติดตั้ง OS บน M.2 นั้นยากพอสมควร เพราะต้องเขียน Image ลง SPI Flash ก่อนเพื่อให้ SPI รู้จักและ Boot จาก M.2 NVME ได้และผมก็ไม่มี USB OTG to M.2 เลยจำเป็นต้องใช้วิธีติดตั้งแบบอื่นแทน (ในเนื้อหามีหลายวิธีให้เราติดตั้ง) โดยสำหรับใครจะใช้ M.2 ต้องมีทักษะการใช้ CLI บน Linux และการแก้ปัญหาเป็นพอสมควร

เพราะถ้าทำตามเนื้อหาอาจจะพบปัญหาหลายอย่างว่าทำไมไม่ได้ เพราะว่าเนื้อหานั้นค่อนข้างเก่า (ไม่ได้อัปเดต) และต้องหาข้อมูลบน https://forum.radxa.com ไปควบคู่กันไป อีกทั้งบางอย่างก็ใช้ได้ บางอย่างก็ใช้ไม่ได้ ดังนั้นสำหรับวิธีการติดตั้งนี้จึงไม่แนะนำสำหรับมือใหม่อย่างยิ่ง 😅

ซื้อมาทำอะไร

ในหัวข้อนี้เป็นการพูดถึงสำหรับการนำ ROCK Pi 4 มาใช้สำหรับงานส่วนตัว โดยหลัก ๆ คือ

  • ต้องการ Server ขนาดเล็ก
  • สามารถเปิดไว้ตลอด 24/7 และไม่กินไฟมาก
  • Fanless (ไม่ต้องใช้พัดลม) เพราะไม่อยากให้มีเสียงดัง
  • ราคาไม่แพงเกินไป
  • ประสิทธิภาพค่อนข้างดี

จากเงื่อนไขข้างบน บอร์ด SBC ในตลาดนั้นก็มีตัวเลือกไม่เยอะและแต่ต้องตัด Raspberry Pi ออกไปเพราะ Storage ช้า และราคาสูงมาก

นอกจากนี้ก็มี Banana Pi, Orange Pi และพบว่า ROCK Pi นั้นเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ผมทุกข้อหมด

ส่วนการใช้งานส่วนตัวหลัก ๆ มี 2 อย่างคือ 1. ทำเป็น VPN Server ที่สามารถ Remote จากที่อื่นเข้ามาใช้ Service ต่าง ๆ ในบ้าน และ 2. ของงานส่วนตัวเนื่องจากใช้งาน Docker เป็นหลักและต้องการย้ายพวก Container ไปไว้ที่ ROCK Pi 4 เพื่อลดการใช้งานทรัพยากรเครื่องหลัก ซึ่งได้ติดตั้ง Services ต่าง ๆ ไว้ดังนี้

อุณหภูมิขณะใช้งาน และติดตั้ง Official Heatsink (เมื่อรันทุก Services พร้อม ๆ กัน)

การใช้แรมและการใช้งาน CPU (เมื่อรันทุก Services พร้อม ๆ กัน)

หาซื้อได้จาก

รวมราคาทั้งหมด 3,353.35 บาท รวมค่าจัดส่งแล้ว เป็นราคาที่รวมอุปกรณ์แล้วที่ถูกกว่าพอสมควร (เนื่องจากซื้อช่วงลดพอดีเลยได้ราคาที่ดีหน่อย 😄)

สรุป

ขอบคุณที่อ่านจนจบ 😊 ขอสรุปเป็นข้อมูลดังนี้สำหรับผู้กำลังตัดสินใจซื้อมาใช้งาน

ROCK Pi 4 นั้นเป็นบอร์ดที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งความแรงของ CPU และ I/O Storage เป็นตัวเลือกที่สำหรับผู้ที่ต้องการความเร็วที่ดีกว่า

ข้อดี

  • ถูกกว่า Raspberry Pi
  • CPU 6 Cores เร็วแรงกว่า
  • รองรับ M.2 NVMe ที่ทำให้การอ่าน/เขียน เร็วมาก ๆ
  • มี Official OS ที่หลากหลายให้เลือกใช้งาน
  • มี Official Heatsink

ข้อเสีย

  • Documents ที่เป็นเนื้อหาสำหรับใช้อ้างอิงไม่ค่อยดีมากนักต้องหาข้อมูลและแก้ปัญหาเองเป็นในระดับหนึ่ง
  • Community ไม่ได้ใหญ่เท่า Raspberry Pi และในไทยเหมือนจะยังไม่เห็นมี ทำให้เวลามีปัญหาแล้วไป สอบ-ถาม ปัญหาการใช้งานต่าง ๆ ยากกว่า
  • การติดตั้ง OS แล้ว Boot จาก M.2 นั้นยากถึงขั้นยากมาก (อ่านจากหัวข้อการติดตั้ง OS)
  • อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ของ Raspberry Pi มีเยอะกว่ามาก ของ ROCK Pi มีเฉพาะอันที่จำเป็นต้องมีเท่านั้น

รูปภาพเพิ่มเติม

Figure Figure Figure Figure Figure Figure Figure Figure Figure

References

Loading...